ศีรษะ

(กายวิภาคศาสตร์ของศีรษะด้านข้าง มุมมองพื้นผิว)
มาเรียนรู้เรื่องศีรษะกันเถอะ

ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป
กะโหลกศีรษะ เกิดจากกระดูก 2 ส่วน คือกระดูกหุ้มสมอง (Neurocranium) และกระดูกหุ้มใบหน้า (Splanchnocranium) เป็นที่อยู่ของ สมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ส่วนต้นของเส้นประสาทสมองและหลอดเลือด กระดูกหน้าประกอบไปด้วยกระดูกที่ล้อมรอบปาก จมูกและส่วนที่เป็นเบ้าตา การเจริญของกระดูกใบหน้าใช้เวลานานมากกว่ากะโหลกศีรษะ
ใบหน้า คือส่วนด้านหน้าของศีรษะ ยื่นลงมาจากหน้าผากถึงคาง และจากหูข้างหนึ่งถึงหูอีกข้างหนึ่ง รูปร่างพื้นฐานของใบหน้าขึ้นอยู่กับกระดูกที่อยู่ข้างใต้ ไขมัน และกล้ามเนื้อใบหน้าทำให้หน้ามีรูปร่างที่สมบูรณ์
สมอง ประกอบด้วยสมองใหญ่(Cerebrum) สมองน้อย (cerebellum) และก้านสมอง อยู่ภายในช่องกะโหลกศีรษะ ห่อหุ้มด้วยเยื่อบุสมองและน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
เส้นประสาทสมอง เหมือนกับเส้นประสาทไขสันหลัง เนื่องจากประกอบด้วยใยประสาทรับความรู้สึกหรือสั่งการ เกิดจากแขนงที่ยื่นจากเซลล์ประสาท เพื่อไปควบคุมกล้ามเนื้อหรือต่อมหรือนำกระแสประสาทจากบริเวณรับความรู้สึก ที่ได้ชื่อว่าเส้นประสาทสมอง เนื่องจากโผล่ออกมาจากรูหรือร่องในกะโหลกศีรษะ มีทั้งหมด 12 คู่ เรียงตามเลขโรมัน I-XII จากส่วนหน้าไปยังส่วนหลังของสมอง
เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ปกป้องสมอง หลอดเลือดแดง หลอดเลือดและแอ่งเลือดดำ (venous sinus) และช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์(subarachnoid space) ซึ่งสำคัญมากต่อการทำงานอย่างเป็นปรกติของสมอง
ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคน มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B0

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไส้ติ่ง

หน้าที่ของตับอ่อน

ท่อไต