บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2019

ไส้ตรง

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องไส้ตรงกันเถอะ  ไส้ตรง  ( Rectum)   เป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่  มีลักษณะเป็นท่อตรง  ยาวประมาณ  15 เซนติเมตร  ตรงปลายของไส้ตรงจะเป็น  ทวารหนัก  ( Anus)   โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด  2  อัน  ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดด้านใน  ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ  ไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจ  ส่วนกล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกอยู่ใต้บังคับของจิตใจ  และสำคัญมากในการควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก https://sites.google.com/site/kobclassroom/xwaywa-thi-pen-thang-dein-xahar/si-trng-rectum

ไส้ติ่ง

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องไส้ติ่งกันเถอะ ไส้ติ่งอยู่ตำแหน่งใด? ไส้ติ่งอยู่บริเวณท้องด้านล่างขวาซึ่งแพทย์เรียกบริเวณนี้ว่า "จุดแมคเบอร์เนย์" (McBurney's point) ซึ่งถ้ากดลงตรงจุดแมคเบอร์เนย์แล้วเจ็บหรือปวดแพทย์ก็จะสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ โดยไส้ติ่งที่มีรูปร่างคล้ายนิ้วมือนั้นจะติดอยู่กับส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่าซีกัม (cecum) ซึ่งเป็นกระเปาะเล็กๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของลำไส้ใหญ่ หน้าที่ของไส้ติ่ง กล้ามเนื้อที่วางตัวอยู่ในทางเดินอาหารร่วมกับฮอร์โมนและเอนไซม์ที่ระบบย่อยอาหารผลิตออกมาช่วยย่อยสลายอาหาร อย่างไรก็ตามไส้ติ่งไม่ได้ช่วยย่อยอาหารโดยตรงและยังไม่ทราบแน่ชัดถึงหน้าที่ของไส้ติ่งในร่างกาย และการผ่าตัดไส้ติ่งออกก็ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายตามมา หลายปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไส้ติ่งเป็นร่องรอยของอวัยวะซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่หลักของมันแล้วหลังจากผ่านการวิวัฒนาการมาหลายพันปี นักวิจัยคิดว่าไม่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นมีไส้ติ่งนอกจากญาติที่ใกล้ชิดของเรามากที่สุดก็คือลิงเอพ (ape) นอกจากนั้นลำไส้ใหญ่ส่วนซีกัมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินพืชยังใหญ่กว่าของคน จากข้อมูลเหล่าน...

ฟัน

รูปภาพ
                                                         ประเภทของฟัน ฟันตัดหน้าซี่กลาง ( central incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่ มีหนึ่งราก ฟันตัดหน้าซี่ข้าง ( lateral incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสองประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด ฟันเขี้ยว ( cuspid or canine) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน ฟันกรามน้อย ( premolar) : ขากรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร (สัตว์กินเนื้อเช่น เสือ สุนัข แมว จะมีเขี้ยวและกรามน้อยเจริญดีและแข็งแรงเป็นพิเศษ) ฟันกราม ( molar) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขากรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร ส่วนประกอบของฟัน                      ...

ศีรษะ

รูปภาพ
(กายวิภาคศาสตร์ของศีรษะด้านข้าง มุมมองพื้นผิว) มาเรียนรู้เรื่องศีรษะกันเถอะ ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป กะโหลกศีรษะ เกิดจากกระดูก 2 ส่วน คือกระดูกหุ้มสมอง ( Neurocranium) และกระดูกหุ้มใบหน้า ( Splanchnocranium) เป็นที่อยู่ของ สมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ส่วนต้นของเส้นประสาทสมองและหลอดเลือด กระดูกหน้าประกอบไปด้วยกระดูกที่ล้อมรอบปาก จมูกและส่วนที่เป็นเบ้าตา การเจริญของกระดูกใบหน้าใช้เวลานานมากกว่ากะโหลกศีรษะ ใบหน้า คือส่วนด้านหน้าของศีรษะ ยื่นลงมาจากหน้าผากถึงคาง และจากหูข้างหนึ่งถึงหูอีกข้างหนึ่ง รูปร่างพื้นฐานของใบหน้าขึ้นอยู่กับกระดูกที่อยู่ข้างใต้ ไขมัน และกล้ามเนื้อใบหน้าทำให้หน้ามีรูปร่างที่สมบูรณ์ สมอง ประกอบด้วยสมองใหญ่( Cerebrum) สมองน้อย ( cerebellum) และก้านสมอง อยู่ภายในช่อง กะโหลกศีรษะ ห่อหุ้มด้วยเยื่อบุสมองและน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง เส้นประสาทสมอง เหมือนกับเส้นประสาทไขสันหลัง เนื่องจากประกอบด้วยใยประสาทรับความรู้สึกหรือสั่งการ เกิดจากแขนงที่ยื่นจากเซลล์ประสาท เพื่อไปควบคุมกล้ามเนื้อหรือต่อมหรือนำกระแสประสาทจากบริเวณรับความรู้สึก ที่ได้ชื่อว่าเ...

กระดูก

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องกระดูกกันเถอะ กระดูก  (อังกฤษ :   Bones ) เป็น อวัยวะ ที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด หน้าที่หลักของกระดูก ได้แก่ การป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น กะโหลกศีรษะที่ป้องกันสมอง หรือกระดูกซี่โครงที่ป้องกันอวัยวะในทรวงอกจากอันตรายและการกระทบกระเทือน การค้ำจุนโครงร่างของร่างกาย การเคลื่อนไหว โดยกระดูกทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ และยังประกอบเข้าด้วยกันเป็นข้อต่อที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ได้ การผลิตเม็ดเลือด โดยไขกระดูกที่อยู่ภายใน เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวที่สำคัญ การเก็บสะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังดึงเอา โลหะหนัก บางชนิดที่อยู่ในกระแสเลือดมาเก็บไว้ เพื่อลดความเป็นพิษลง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81

ลิ้น

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องลิ้นกันเถอะ ลิ้น (Tongue) เป็นกล้ามเนื้อซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วในหลายทิศทาง  ทำหน้าที่ช่วยในการกลืน ลิ้นทำหน้าที่ในการรับรสอาหาร เพราะที่ลิ้นมีปุ่มรับรส เรียกว่า Taste Bud อยู่ 4 ตำแหน่ง คือ         - รสหวาน อยู่บริเวณปลายลิ้น         - รสเค็ม อยู่บริเวณปลายลิ้นและข้างลิ้น         - รสเปรี้ยวอยู่บริเวณข้างลิ้น         - รสขม อยู่บริเวณโคนลิ้น ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland) เป็นต่อมมีท่อ ทำหน้าที่ผลิตน้ำลาย (Saliva) ต่อมน้ำลายของคน มีอยู่ 3 คู่คือ 1. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual Gland) 1 คู่ 2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (Submandibulary Gland) 1 คู่ 3. ต่อมน้ำลายข้างกกหู (Parotid Gland) 1 คู่ ต่อมน้ำลายทั้ง 3 คู่นี้ ทำหน้าที่สร้างน้ำลายที่มีน้ำย่อยอะไมเลส  ซึ่งเป็นน้ำย่อยสารอาหารจำพวกแป้งอยู่ด้วย การย่อยในปาก  เริ่มต้นจากการเคี้ยวอาหารโดยการทำงานร่วมกันของ ฟัน ลิ้น และแก้ม ซึ่งถือเป็นการย่อยเชิงก...

หน้าที่ของตา

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องตากันเถอะ ดวงตาทำหน้าที่เกือบทุกอย่างที่คุณทำ และนี่คือหน้าที่หลักๆของดวงตา การมองเห็น  - ดวงตาเปลี่ยนแสงให้กลายเป็นคลื่นไฟฟ้าและส่งไปที่สมอง ซึ่งจะแปลผลกลายเป็นภาพให้เรามองเห็น การเคลื่อนไหว  - กล้ามเนื้อตาทั้ง 6 มัดทำหน้าที่หมุนลูกตา 4 มัดหมุนขึ้น ลง ซ้าย ขวา อีก 2 มัดเพื่อปรับสมดุลจากการขยับศีรษะ การกระพริบตา  - ทุกครั้งที่คุณกระพริบตา น้ำตาจะฉาบไปที่บริเวณผิวด้านนอกของดวงตาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและทำความสะอาดดวงตา กล้ามเนื้อที่เปลือกตาบนจะทำหน้าที่เปิด-ปิดตา การร้องไห้  - น้ำตา-ของเหลวที่มีความเค็มประกอบด้วยโปรตีน น้ำ เมือก และ น้ำมัน ถูกหลั่งออกมาจากต่อมน้ำตาที่ด้านบน ด้านนอกของดวงตา น้ำตาจะคอยปกป้องสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น ควันและลม น้ำตาจากความรู้สึก ตอบสนองต่อความรู้สึก ยินดี หรือ เสียใจ เคยมีทฤษฎีกล่าวไว้ว่า "การร้องไห้ที่ดี" ช่วยขจัดสารพิษและของเสียออกจากร่างกายได้ การปกป้อง  - ลูกตาอยู่ภาพในกระดูกเบ้าตาเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิด ขนตาและเปลือกตา คอย...

หน้าที่ของหัวใจ

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องหัวใจกันเถอะ - หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)  เป็นส่วนที่คอยรับเลือดจากร่างกายส่วนบนและส่วนล่างผ่านหลอดเลือดดำใหญ่ 2 เส้น คือ หลอดเลือดดำบน (superior vena cava) และหลอดเลือดดำล่าง (Inferior vena cava) - หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับเลือดต่อจากหัวใจห้องบนขวา และส่งเลือดต่อไปยังปอดเพื่อทำการฟอก โดยผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี (pulmonary valve) และหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary arteries) - หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)  เมื่อเลือดได้รับการฟอกจากปอดแล้ว จะเป็นเลือดที่มีออกซิเจนอยู่สูง ซึ่งเลือดนี้จะเดินทางเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย โดยผ่านหลอดเลือดดำพัลโมนารี หรือหลอดเลือดดำจากปอด (pulmonary veins) จากนั้นจึงส่งต่อไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย - หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)  ทันทีที่เลือดมาถึงหัวใจส่วนนี้ เลือดจะถูกสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic valve) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) ดังนั้น หัวใจส่วนนี้จึงจำเป็นจะต้องมีผนังหัวใจที่หนาและแข็งแรงที่สุด ทั้งยังเป็นห้องหัวใจที่มีขนาดใหญ่ที...

หน้าที่ของปอด

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องปอดกันเถอะ หน้าที่ของปอด -หน้าที่เกี่ยวกับ การหายใจ  แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ -หน้าที่อื่น ๆ นอกจากการหายใจ -การควบคุมและขับสารต่าง ๆ เช่น  ยา ,  แอลกอฮอล์  ออกจากระบบเลือด -การควบคุมสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของ เอนไซม์  และอวัยวะต่าง ๆ -กรอง ลิ่มเลือด เล็ก ๆ ที่ตกตะกอนออกจาก เส้นเลือดดำ -ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อ หัวใจ ซึ่งอยู่ตรงกลางช่องทรวงอก วิธีการทำงาน การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอดที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดฝอยติดอยู่ ดังนั้นเมื่ออากาศผ่านเข้ามาถึงถุงลมจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงซึ่งไหลมาพร้อมกับเลือดภายในหลอดเลือดฝอยมากขึ้น จากนั้นออกชิเจนในอากาศซึ่งมีประมาณมากกว่าประมาณออกซิเจนในเลือด ก็จะซึมผ่านผนังถุงลมและผนังหลอดเลือดฝอยนี้เข้าสู่ เม็ดเลือดแดง  และพร้อมกันนั้น คาร์บอนไดออกไชด์ที่เหลือจากกระบวนการ เมทาบอลิซึม ของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และส่งมากับเม็ดเลือดแดงก็จ...

หน้าที่ของตับอ่อน

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องตับอ่อนกันเถอะ หน้าที่ของตับอ่อนประการแรกคือการย่อยอาหาร น้ำย่อยจากตับอ่อนเข้าสู่ลำไส้เล็กในตำแหน่งเดียวกับท่อน้ำดี น้ำย่อยนี้เป็นด่างเพื่อลดสภาพความเป็นกรดของอาหารที่ผ่านมาจากกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารถูกย่อยแล้วจึงถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้เซลล์ของตับอ่อนที่เรียกว่า “ กลุ่มเซลล์ของแลงเกอร์ฮาน”  ยังสร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คืออินซูลิน และกลูคากอน ซึ่งจะถูกลำเลียงเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก มีหน้าที่ช่วยเนื้อเยื่อในร่างกายจับเอาน้ำตาลในเลือดไปใช้ กลูคากอนมีหน้าที่ตรงข้ามคือ กระตุ้นตับและเนื้อเยื่อให้ปล่อยน้ำตาลที่สะสมไว้ ออกไปสู่กระแสเลือดในยามที่ร่างกายขาดแคลนน้ำตาล.  https://www.doctor.or.th/article/detail/6760

หน้าที่ของกระบังลม

รูปภาพ
มาเรียนรู้เรื่องกระบังลมกันเถอะ กระบังลมทำหน้าที่อะไร กระบังลมทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ โดยจะหดเพื่อลดความดันในช่องอกเพื่อให้อากาศไหลเข้าช่องอก และเมื่อกระบังลมคลายอากาศก็จะไหลออกตาม โดยส่วนมากกระบังลมจะหดตัวภายนอกอำนาจจิตใจ ทำให้เราสามารถหายใจได้แม้ในยามนอนหลับ แต่กระบังลมก็สามารถหดตัวภายใต้อำนาจจิตใจได้เช่นกัน  เราใช้กล้ามเนื้อกระบังลมไม่เพียงการหายใจเข้าหรือการเค้นหายใจออก แต่ยังใช้ในการไอ จาม อาเจียน ปัสสาวะ ถ่ายอุจจาระ(โดยช่วยในการขยับลำไส้) และการคลอดลูก การหายใจโดยใช้กระบังลม เป็นวิธีที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระบังลม เพื่อที่จะทำให้สามารถหายใจเอาอากาศเข้าออกมากขึ้นโดยไม่ทำให้กล้ามเนื้ออกเหนื่อยล้า                            https://www.honestdocs.co/what-is-the-diaphragm