บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2019

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

รูปภาพ
ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์                  แผนภาพแสดงระบบสืบพันธุ์เพศหญิงของมนุษย์                  แผนภาพแสดงระบบสืบพันธุ์เพศชายของมนุษย์ การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ ในกระบวนการดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชายหลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิประมาณ 70 ล้านตัวเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูกของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพ...

หลอดลม

รูปภาพ
หลอดลม หลอดลม (  trachea) เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หลอดลมของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง ( Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม หลอดลม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก่ 1. หลอดลมใหญ่ ( Trachea) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากกล่องเสียงยาวลงไปจนถึงจุดที่แยกเข้าสู่ปอดด้านซ้ายและด้านขวา 2.หลอดลมของปอด ( Right main bronchus) เป็นแขนงของหลอดลมใหญ่ ซึ่งอยู่ในแต่ละข้างของปอด เริ่มต้นต่อจากหลอดลมใหญ่ลึกเข้าไปในเนื้อปอด หลอดลมเหล่านี้เมื่ออยู่ลึกเข้าไป ก็จะมีการแตกแขนงแยกย่อยลงไปอีกตามตำแหน่งของเนื้อปอด  3.หลอดลมฝอย ( Laft main bronchus) เป็นแขนงย่อยของหลอดลมของปอด หลอดลมฝอยเหล่านี้บางส่วนนอกจากจะสามารถนำก๊าซเข้าสู่ปอดได้แล้ว ยังสามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย แต่ไม่เป็นหน้าที่หลักเหมือนถุงลม https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%A1

เอ็นร้อยหวาย

รูปภาพ
เอ็นร้อยหวาย เอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) เป็นเส้นเอ็นที่แข็งแรง และหนาที่สุดในร่างกาย รับน้ำหนักได้มากถึง 9 กิโลนิวตัน ในขณะวิ่ง หรือสูงถึง 12.5 เท่า ของน้ำหนักตัว เป็นเอ็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่ยึด ที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องขา ซึ่งอยู่ด้านหลังของขา กับ กล้ามเนื้อที่ติด กับกระดูกส้นเท้า (Calcaneus) มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่วมกับกล้ามเนื้อน่องและกระดูกส้นเท้า เช่น การเดิน การวิ่ง การขยับของเท้าและข้อเท้า การกระดกขึ้น การกระดกลง เป็นต้น  เอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่ใหญ่สุดในร่างกาย  เชื่อมต่อกล้ามเนื้อน่องกับส้นเท้า มีผลในการเดิน วิ่ง และการกระโดด หากเกิดเส้นเอ็นตึงมากหรือมีความเครียดเกิดที่เส้นเอ็นมากๆ อาจทำให้เกิด การอักเสบ ขึ้นได้ https://www.honestdocs.co/achilles-tendon-symptom

ท่อไต

รูปภาพ
ท่อไต          ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ท่อไต (  ureter) เป็นท่อเกิดจากใยกล้ามเนื้อเรียบซึ่งลำเลียงปัสสาวะจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ ในผู้ใหญ่ ท่อไตปกติยาว 25 – 30 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร ในทางมิญชวิทยา ท่อไตมีเนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยนและชั้นกล้ามเนื้อเรียบเพิ่มในส่วนปลายหนึ่งในสามเพื่อช่วยบีบรูด https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%95

ท่อปัสสาวะ

รูปภาพ
ท่อปัสสาวะ                  ท่อปัสสาวะ ( Urethra) เป็นท่อนำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอก ในชายท่อปัสสาวะยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และยังเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิ ท่อปัสสาวะในชายคดเคี้ยว คล้ายตัวเอส ( S) ในหญิง ท่อปัสสาวะยาว 4 มิลลิเมตร จากมุมล่างสุดของกระเพาะปัสสาวะทอดโค้งลงล่างไปข้างหน้า เปิดสู่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หน้ารูเปิดของช่องคลอด ต่ำกว่าคลิตอริสประมาณ 2.5 เซนติเมตร https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0

กระเพาะปัสสาวะ

รูปภาพ
กระเพาะปัสสาวะ           กระเพาะปัสสาวะ ( urinary bladder) เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยะยืดหยุ่นและเป็นกล้ามเนื้อแอ่ง อยู่ ณ ฐานเชิงกราน ปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทางท่อไตและออกทางท่อปัสสาวะ ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะระบุไว้ระหว่าง 500 ถึง 1000 มิลลิลิตร เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องอุ้งเชิงกรานด้านหลังกระดูกหัวหน่าว มีลักษณะเป็นถุงกลวงยืดหยุ่นได้ ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การถ่ายปัสสาวะจะต้องประกอบไปด้วย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0

ไขสันหลัง

รูปภาพ
ไขสันหลัง                                                                 ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายใน กระดูกสันหลัง                             ภาพใกล้ของไขสันหลัง ไขสันหลัง เป็นอวัยวะหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง ที่อยู่ในช่องกระดูกสันหลัง มีรูป ร่างเป็นท่อยาวต่อจากสมองลงมา โดยเริ่มต้นจากช่องกระดูกต้นคอข้อแรก (มีทั้งหมด 7 ข้อ) ไปจนถึงช่องกระดูกเอวข้อที่ 1-2 ( มีทั้งหมด 5 ข้อ) ไขสันหลังมีหน้าที่รับและส่งสัญญาณต่างๆ (กระแสประสาท หรือ Neural signal) ระ หว่างสมองและเส้นประสาทของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อเชื่อมต่อการทำงานระ หว่างสมองและเส้นประสาทต่างๆเหล่านั้น และเนื่องจากเป็นอวัยวะในระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับสมอง โรคไขสันหลัง หรือโรคต่างๆของไขสันหลังจึงคล้ายคลึงกับโรคสมอง โดย เฉพาะการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต แต่จะแตกต่างกันที่ อัมพฤ...

คอหอย

รูปภาพ
คอหอย มาเรียนรู้เรื่องคอหอยกันเถอะ หน้าที่ คอหอยเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบทางเดินอาหาร และ ระบบทางเดินหายใจ ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เนื่องจากทั้ง อาหาร และอากาศต่างผ่านเข้าสู่คอหอย ร่างกายมนุษย์จึงมีแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียกว่า  ฝาปิดกล่องเสียง  (epiglottis) ปิดช่องท่อลมเมื่อมีการกลืนอาหาร เพื่อป้องกันการสำลัก ในมนุษย์ คอหอยยังมีความสำคัญในการออกเสียง ส่วนต่างๆ ของคอหอย คอหอยของมนุษย์โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่         คอหอยส่วนปาก คอหอยส่วนปาก หรือคอหอยหลังช่องปาก (oropharynx) เป็นส่วนที่อยู่หลังช่องปาก  คอหอยส่วนจมูก คอหอยส่วนจมูก หรือคอหอยหลังโพรงจมูก (nasopharynx) ตั้งอยู่ด้านหลังโพรงจมูก คอหอยส่วนกล่องเสียง คอหอยส่วนกล่องเสียง หรือคอหอยหลังกล่องเสียง (laryngopharynx หรือ hypopharynx) อยู่ที่ประมาณระดับ C3 ถึง C6 บริเวณนี้มีจุดเชื่อมกล่องเสียงและหลอดอาหาร  และผนังคอหอยด้านหลัง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2

ต่อมน้ำลาย

รูปภาพ
ต่อมน้ำลาย มาเรียนรู้เรื่องต่อมน้ำลายกันเถอะ ต่อมน้ำลาย  (  salivary gland ) เป็นต่อมที่สร้าง น้ำลาย อยู่ภายในบริเวณ ช่องปาก  พบได้ใน สัตว์เลี้ยงลูกด้วย น้ำนม และ แมลง   สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะผลิตน้ำลายเพื่อเป็นน้ำย่อยและคลุกเคล้าอาหาร ส่วนในแมลงจะใช้สำหรับสร้างกาวหรือใย ต่อมน้ำลายของมนุษย์มีด้วยกัน 3 คู่ คือ Parotid gland พบได้ที่บริเวณกกหู ผลิตน้ำลาย ชนิดใสชนิดเดียว Submaxillary gland หรือ Submandibular gland พบได้ที่บริเวณขากรรไกรล่าง ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดใสจะมากกว่า เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายได้มากที่สุด Sublingual gland ขนาดเล็กที่สุด พบได้ที่บริเวณใต้ลิ้น ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดเหนียวจะมากกว่า https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2